วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของทีมงานพยาบาล

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของทีมงานพยาบาล

หน้าที่ผู้บริหารการพยาบาล

1.
ดูแลรับผิดชอบและควบคุมกำกับการให้บริการด้านพยาบาลอาชีวอนามัยแก่บุคลากรของโรงงานอุตสาหกรรม   มีหน้าที่ในการวางแผนงานและบริหารจัดการ Occupational Health Nursing Program
ให้ครอบคลุมและเหมาะสมกับบุคลากร   ทุกกลุ่มงานทั้งบุคลากรที่ทำงานด้านOffice   ฝ่ายบริหารงาน
รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานใน Line  การผลิต  
2.
มีส่วนร่วมในการสนับสนุนวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยทั้งในระยะสั้นและ ระยะยาวโดยมีความสอดคล้องและสนับสนุนเป้าหมายการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรม
3.
มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการจัดทำแผนนโยบายเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย,
 แผนการปฏิบัติงาน,เอกสารแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานและเอกสารแนะนำให้ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ โรงงานเพื่อนำไปเผยแพร่และแจกจ่ายให้แก่บุคลากรยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ
4.
ประสานความร่วมมือด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยกับบุคลากรทางอาชีวอนามัยและ
คณะกรรมการความปลอดภัยในการจัดกิจกรรมส่งเสริมและให้ความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความ
ปลอดภัยที่เหมาะสมให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่และบุคลากรบรรจุใหม่
5.
กำหนดกรอบแผนงานและขั้นตอนในการดูแลและรักษาสุขภาพ, การคัดกรองทางการแพทย์การให้
คำปรึกษาและประเมินประวัติสุขภาพและประวัติการทำงานของบุคลากรว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพ
อัน เกิดจากการทำงานมากน้อยเพียงใด  
6.
สามารถวางแผนและบริหารจัดการการจัดกิจกรรมหรือการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพในทุกกลุ่ม
บุคลากร
7.
สามารถให้คำปรึกษาด้านสุขภาพเบื้องต้นกับพนักงานลูกจ้างและบุคลากรในโรงงานพร้อมทั้งสามารถช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาสุขภาพให้กับบุคลากรเป็นรายบุคคลและสามารถวางแผนป้องกันความเสี่ยงต่ออันตรายทางสุขภาพในสถานที่ปฏิบัติงาน
8.
สามารถวางแผนบริหารจัดการโปรแกรมการดูแลบุคลากรที่ตั้งครรภ์โดยสามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ
สุขภาพและงานที่เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพการหลีกเลี่ยงอันตรายจากการทำงานรวมทั้งเมื่อเกิดเหตุ
ฉุกเฉินสามารถให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเหมาะสมก่อนส่งถึงแพทย์เฉพาะทางต่อไป

9.
สามารถประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับโรคเรื้อรังหรือเบาหวานที่อาจจะมี
ผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสามารถตรวจสอบและค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอภิปราย
อาการของโรคกับแพทย์วางแผนการให้คำปรึกษาและติดตามอาการตามที่แพทย์สั่งได้รวมทั้งสามารถ
สังเกตอาการเบื้องต้นและส่งต่อคนไข้ให้แพทย์เฉพาะทางได้

10.
ร่วมมือกับแพทย์อาชีวอนามัยในการจัดกิจกรรมปรับปรุงสมรรถนะทางกายให้กับบุคลากร
สามารถให้คำแนะนำกับบุคลากรเกี่ยวกับงานที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนหน้าที่และการเกษียณอายุงานเนื่องจากความบกพร่องของร่างกาย
11.
ประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานอนามัยในการตรวจสอบพื้นที่ปฏิบัติงานเพื่อจัดจำแนกและ
แบ่งระดับบริเวณการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายหรือระดับความเสี่ยงอันตรายในการ
ปฏิบัติงานของลูกจ้างรวมทั้งสามารถหาวิธีการป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้น
12.
จัดเตรียม, บันทึก และเก็บรักษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมอาชีวอนามัย  เช่น  ประวัติสุขภาพของ
บุคลากรบันทึกการติดต่อประสานงาน
13.
ส่งเสริมการจัดโปรแกรมการตรวจเยี่ยมบริเวณปฏิบัติงานเป็นระยะเพื่อตรวจสอบติดตามผลและชี้ให้เห็นถึง
อันตรายต่างๆในการปฏิบัติงานและรณรงค์ให้บุคลากรใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย เช่น ear protection,
respirators, safety glasses และอื่นๆ พร้อมทั้งแนะนำวิธีการป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้
อุปกรณ ์ทำบันทึกผลการตรวจเยี่ยมและเขียนรายงานหรือข้อเสนอแนะได้
14.
ติดตามการเปลี่ยนแปลงและข้อมูลข่าวสาร ข้อกำหนดและนโยบายของโรงงาน ให้มีความทันสมัยอยู่
เสมอ
15.
วางแผนและประสานงานในการจัดโครงการให้ภูมิคุ้มกันต่อโรคที่เหมาะสมแก่บุคลากร
โดยจำแนกประเภทตามความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานรายบุคคล

16.
สามารถจำแนกความเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงานออกจากความเจ็บป่วยที่เกิดจากสาเหตุ
อื่นๆได้และร่วมมือกับ แพทย์อาชีวอนามัย, บุคลากรด้านความปลอดภัย , หัวหน้างานในการติดตาม
อาการเจ็บป่วย
17.
รับผิดชอบหน้าที่อื่นๆตามที่ได้รับมอบหมายได้














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครงาน และติดต่อขอใบเสนอราคา "ภิรยาดาการแพทย์" ได้ที่นี่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภิรยาดาการแพทย์
โทร .038-027681 ,085-7450472,085-9307722 ,087-9172219 ,Fax.038-027681 email : Pirayadakanpat@gmail.com

ดูโปรไฟล์บริษัทได้ที่ http:Pirayadakanpat.blogspot.com/