วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

คลอดแล้วจ้า...โครงการแก้ไขปัญหา และส่งเสริมสุขภาพจิตพนักงานในสถานประกอบการ

ที่มาและความสำคัญของปัญหา           
               ในการพัฒนาคุณภาพและคุณลักษณะของพนักงานวัยทำงาน การดำเนินการพัฒนาศักยภาพ
พนักงานจำเป็นต้องคำนึงถึงประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 ได้แก่ สติปัญญาและทักษะความรู้ความสามารถในการปฎิบัติงาน 
ส่วนที่  2  ทัศนคติและ ค่านิยมการดำรงชีวิตในสังคม
ส่วนที่ 3 คือสุขภาวะทั้งร่างกายและจิตใจ 

อย่างไรก็ตามสุขภาวะทางจิตมีความสำคัญต่อการปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตของคนในสังคมให้อยู่รอดอย่างปกติสุข โดยไม่มีผลกระทบต่อคนรอบข้าง รวมทั้งมีผลกระทบต่อสังคมด้วย แต่คนทั่วไปยังไม่ได้ให้ความสนใจ
ลักษณะบุคคลในวัยทำงานที่มีสุขภาพจิตดี   จะสามารถควบคุมการแสดงออกได้อย่างเหมาะสม มีความมั่นใจ ภูมิใจในตัวเอง  มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ต่างๆ เช่น โกรธ เกลียด วิตกกังวล ผิดหวังมีความอดทนเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์กดดัน สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้  คิดแก้ปัญหาและตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีสามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข   สามารถดูแลรักษาความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวให้เป็นไปอย่างราบรื่น   และยังก่อผลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีในการปฎิบัติงานอันจะส่งผลดีต่อหน่วยงานยิ่งขึ้น
                 
                ขณะนี้คนไทยส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น  กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าปี 2552 ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยทางจิตมากถึง 1,440,393 ราย โดยพบว่าอัตราผู้ป่วยที่มาใช้บริการในสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ ทั้งในสถานบริการเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต และในสถานบริการสาธารณสุขทั่วไป มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี เฉลี่ยแล้วจะสูงถึงร้อยละ 3.05 ต่อปี        

วัตถุประสงค์

                1.     เพื่อศึกษาและทบทวนถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของพนักงานบริษัท
                2.     เพื่อศึกษาและวิเคราะห์นโยบายของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต
3.   เพื่อส่งเสริมภาวะสุขภาพจิตของพนักงานให้สามารถสามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมี   
       ความสุข       และยังก่อผลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีในการปฎิบัติงาน
                5.     เพื่อนำข้อมูลจากการศึกษามาวิเคราะห์และสังเคราะห์มาจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                        ในการปรับปรุงและพัฒนาสถานประกอบการให้ดีเด่นยิ่งขึ้น
  หน่วยงานที่รับผิดชอบ   

                         แผนกความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม  และเจ้าหน้าที่พยาบาลประจำห้องปฐมพยาบาล

 ผู้เข้าร่วมโครงการ          พนักงานบริษัท  จำนวน   500   คน
  
ระยะเวลา             กุมภาพันธ์ - ธันวาคม 2554

กิจกรรมการดำเนินงาน


1.จัดตั้งคลินิกสุขภาพจิต     ห้องให้คำปรึกษา  (แยกจากการรับบริการพยาบาลปรกติ)  
ทุกวันอังคารเวลา  13.00 น .  -  16.00 น.  โดยการให้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตให้คำปรึกษา
 แด่พนักงานบริษัทที่ต้องการมารับบริการ  โดยดำเนินการให้คำปรึกษา    รายละ   45    นาที
ซึ่งพนักงานสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการปรึกษาล่วงหน้าได้ที่ห้องพยาบาล

2.จัดโทรศัพท์สายด่วนสุขภาพจิต    โดยสามารถให้บริการโทรศัพท์สุขภาพจิตแด่พนักงานที่ต้องการใช้บริการฟรี 

บริการ
ผู้ให้บริการ
หมายเลขโทรศัพท์
ฮอตไลน์คลายเครียด
กรมสุขภาพจิต
1667
ศูนย์บริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์
กรมประชาสงเคราะห์
1507
มูลนิธิเพื่อนหญิง
มูลนิธิเพื่อนหญิง
0-2513-1001
มูลนิธิศูนย์ฮอตไลน์  (กรุงเทพฯ)

0-2276-2950-1, 0-2277-8811
มูลนิธิศูนย์ฮอตไลน์  (เชียงใหม่)

0-5385-0270
สายด่วนวัยรุ่น

0-2275-6993-4
สมาคมสะมาริตัน
สมาคมสะมาริตัน
0-2713-6793
แอคเซ็นเตอร์

0-2249-5205


งบประมาณ

 3.จัดการอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมภาวะสุขภาพจิตในหน่วยงาน
 โดยการอบรมเชิงปฎิบัติการกลุ่มสัมพันธ์   การละลายพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม  ส่งเสริมความสามัคคีในหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น
งบประมาณ


4.จัดการอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมภาวะสุขภาพจิตในหน่วยงาน
 โดยการอบรมการออกกำลังกายโยคะ  เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตในสถานประกอบการ    
  ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อการควบคุมภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ดียิ่งขึ้น
งบประมาณ

 5.จัดทำตู้รับจดหมายร้องเรียนจากพนักงานเพื่อเป็นการรับฟังปัญหาโดยผู้บริหารโดยตรง  เพื่อเป็นการระบายออกและหาวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน
งบประมาณ

 6.จัดโครงการเสียงตามสายระหว่างพักเที่ยงโดยให้พนักงานแต่ละแผนกส่งตัวแทนจัดรายการวิทยุ 
สามารถขอเพลง      เปิดเพลงเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ผ่อนคลาย  เป็นเวลา  30  นาที  ทุกเที่ยงวัน
งบประมาณ


7.จัดทำโครงการกีฬาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
ในหน่วยงาน
งบประมาณ

 การประเมินผล                  
1. มีผู้เข้าร่วมการดำเนินงานอย่างน้อย  ร้อยละ     30      ของพนักงานทั้งหมด

2. จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ห้องพยาบาลลดลง  ร้อยละ  10

3. จำนวนผู้ป่วยที่นอนพักที่ห้องพยาบาลลดลง  ร้อยละ  10


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครงาน และติดต่อขอใบเสนอราคา "ภิรยาดาการแพทย์" ได้ที่นี่
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภิรยาดาการแพทย์
โทร .038-027681 ,085-7450472,085-9307722 ,087-9172219 ,Fax.038-027681 email : Pirayadakanpat@gmail.com

ดูโปรไฟล์บริษัทได้ที่ http:Pirayadakanpat.blogspot.com/